13/01/2009

La francophonie








Vocabulaire


Purement adj. อย่างแท้
conscience n.f การรู้ตัว
particulièrement adv. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
objectives adj. ที่ตรงไปตรงมา
locution n.f สำนวนกลุ่มคำ
réveiller v. ปลุกให้ตื่น
coutume n.f จารีตประเพณี
constituer v. จัดตั้งขึ้น
éventuelle adj. ที่อาจเกิดขึ้นได้
regrouper v. ทำให้่รวมกลุ่มกัน
caractéristique adj. อย่างเด่นชัด
consacrer v. เสียสละ, ใช้เวลา


Historique


À l'origine, le terme de francophonie a été utilisé de façon purement descriptive par des géographes dès 1871, le mot ayant été « inventé » par Onésime Reclus (1837-1916). Ce n'est pourtant pas qu'après la Seconde Guerre mondiale, à partir d'un numéro spécial de la revue Esprit (1962), qu'une « conscience francophone » s'est développée. Le terme a été particulièrement popularisé par Léopold Sédar Senghor. C'est dès lors dans ce sens qu'il convient de comprendre la francophonie : il s'agit plus de la conscience d'avoir en commun une langue et une culture francophones que de décisions officielles ou de données objectives. C'est une communauté d'intérêt.
Les locuteurs du
français se sont sentis menacés par l'omniprésence de l'anglais et l'influence de la culture anglo-américaine après la Seconde Guerre mondiale. Ce n'est qu'à ce moment que la conscience de la communauté francophone s'est réveillée avec la volonté de s'unir pour défendre :
certaines spécificités de la langue française, qui la font plus précise que la langue anglaise[4]. La coutume de ne pas juxtaposer (en général) deux substantifs sans indiquer la nature exacte de leur rapport constitue également un « plus » reconnu de précision du français par rapport à l'anglais.
une éventuelle « exception culturelle francophone ». Celle-ci tend à prendre aujourd'hui la forme de la
diversité culturelle (voir déclaration universelle de l'Unesco sur la diversité culturelle et déclaration de Montréal de 2007).
En
politologie et dans la mondialisation (globalization), la francophonie n'est qu'un des regroupements autour de quelques caractéristiques. L'ALENA, l'APEC sont des regroupements régionaux économiques comme l’Union européenne. La francophonie l'est autour d'une langue première, seconde ou troisième. Ce n'est qu'une tentative de regroupement parmi d'autres, comme l'OPEP pour le pétrole.
La défense de leur
identité est une tendance de toutes les cultures. La francophonie constitue donc aussi un cas particulier de l'aspiration de beaucoup d'habitants de la planète à une diversité culturelle. Certains défenseurs de l'idée francophone comme Stelio Farandjis ont aussi vu dans la francophonie le creuset d'un dialogue des cultures allant jusqu'à créer une terminologie spécifique (arabofrancophonie).
Le
20 mars est consacré Journée internationale de la francophonie.

09/01/2009

มหัศจรรย์นโยบายปฏิรูปจีน








เอเอฟพี – การปฏิรูปเศรษฐกิจที่เริ่มขึ้นบนแดนมังกรเมื่อ 30 ปีก่อนได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงรากลึกในประเทศ ซึ่งมีประชากรมากที่สุดในโลกแห่งนี้ การเปลี่ยนแปลงนั้นมากมายระดับไหน? ลองมาดูสถิติเปรียบเทียบกัน เศรษฐกิจ : ทุกวันนี้จีนเป็นมหาอำนาจชาติหนึ่งในโลก สาเหตุหลัก เนื่องมาจากเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนด้วยสินค้าส่งออกจำนวนมหึมา และพญามังกรกำลังจะแซงหน้าเยอรมนี กลายเป็นชาติเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก เมื่อมองย้อนกลับไป นับตั้งแต่ปี 2521 จะเห็นว่ามันเป็นเส้นทางที่ยาวไกล โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพีของปีนั้น เมื่อคิดตามมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 364,500 ล้านหยวน แต่ในปี2550 จีดีพีโตขึ้นถึง 68 เท่า เป็น 25.1 ล้านล้านหยวน การค้ากับต่างชาติ : ตัวเลขการค้ากับต่างชาติทำให้เห็นการผงาดของจีนราวกับหนังอภินิหาร ยอดการค้าของจีนกับต่างชาติในปี 2521 มีมูลค่า 20,600 ล้านดอลลาร์ โดยจีนขาดดุลการค้า 1,100 ล้านดอลลาร์ แต่ยอดการค้ากับต่างชาติในปี 2550 โตถึง 105 เท่าเป็น 2.17 ล้านล้านดอลลาร์ และการขาดดุลกลับกลายเป็นการเกินดุลอย่างมหาศาลจำนวน 262,000ล้านดอลลาร์

การศึกษา : การศึกษาเคยเป็นเรื่องอิสระไม่มีการบังคับในหลายเมือง แต่หลายปีภายหลังจากลงมือปฏิรูป การศึกษากลายเป็นรายจ่ายก้อนโตสำหรับหลายครอบครัว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการศึกษาเฟื่องฟูขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในระดับมหาวิทยาลัย ในปี 2521 มีผู้เดินออกจากมหาวิทยาลัย พร้อมปริญญาบัตร ที่สูงกว่าปริญญาตรีเพียง 9 คน แต่พอถึงปี2550 แทบไม่น่าเชื่อว่า ตัวเลขจะพุ่งสูงได้ถึง 311,839 คน ประชากร : ตอนที่เริ่มการปฏิรูป จีนมีพลเมืองมากที่สุดในโลกจำนวน 963 ล้านคน ทุกวันนี้ ก็ยังครองตำแหน่งดังกล่าว โดยในปี 2550 มีพลเมืองมากถึง 1,320 ล้านคน ทว่าก็มีแนวโน้ม ที่อินเดียอาจแซงหน้าจีนภายในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า เหตุผลหลัก ก็เนื่องจากจีนใช้นโยบายลูกคนเดียว ซึ่งลดอัตราการเติบโตของประชากรจากร้อยละ 1.2 ต่อปีในปี 2521 เป็นร้อยละ0.5 ในปัจจุบัน การจ้างงาน : เมื่อสมัยปี 2521 นั้น มีชาวจีนประกอบอาชีพอิสระ 150,000 คน โดยทั่ว ๆ ไปก็ค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเป็นช่างซ่อม ยังไม่มีชาวจีนคนใดเป็นลูกจ้างธุรกิจเอกชน พอในปี 2550 จำนวนชาวจีนที่ทำงานเป็นลูกจ้างธุรกิจเอกชน หรือทำงานอิสระเพิ่มถึง 127 ล้าน 5 แสนคน

รายได้ :ชาวจีนที่อาศัยในเมืองและชนบทต่างได้รับประโยชน์จากการปฏิรูป โดยในปี 2521ครอบครัวในเมืองมีรายได้ใช้จ่ายต่อปีโดยเฉลี่ย 343.4 หยวน ขณะที่ในปี 2550 อยู่ที่ 13,786 หยวน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 40 เท่า ส่วนครอบครัวในชนบท เพิ่มขึ้น 31 เท่า จาก 133.6 หยวน เป็น 4,140 หยวนบ้านอาศัย :ชาวจีนเคยต้องอาศัยกันอย่างแออัดภายในห้องเช่าแคบๆ สภาพเช่นนี้ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน แต่ครอบครัวคนชั้นกลาง ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ก็ได้อาศัยในบ้านช่องที่สบายกว่าเดิม เนื่องจากการเคหะของจีนเจริญเติบโตอย่างมาก ซึ่งนับเป็นการเติบโตครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ โดยในปี 2521 คนในเมืองมีที่อยู่อาศัยโดยเฉลี่ย 6.7 ตารางเมตร (72 ตารางฟุต) แต่ในปี 2549 ซึ่งเป็นตัวเลขล่าสุดที่มีอยู่ พื้นที่อาศัยโดยเฉลี่ยขยายเป็น 27.1 ตารางเมตร (291 ตารางฟุต)ประชากรสูงอายุ :ในปี 2524 คาดว่าผู้หญิงจีนมีอายุยืนยาวโดยเฉลี่ย 69.3 ปี ขณะที่ในปี 2543 คาดว่าผู้หญิงจีนมีอายุยืนยาวโดยเฉลี่ย 73.3 ปี ส่วนผู้ชายเฉลี่ย 66.3 ปีในปี 2524 และ 69.6 ปีในปี2543 เห็นได้ว่าตัวเลขไม่เพิ่มมากนัก ซึ่งสะท้อนว่า จีนมีการดูแลสุขอนามัยขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนอย่างกว้างขวางพอสมควรในยุคก่อนหน้าการปฏิรูป
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ 19 ธันวาคม 2551